Children's art.

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เส้น-สี ในจินตนาการ








....เส้น...  


1.  เส้นตั้งฉาก เป็นลักษณะเส้นที่ให้ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง เด็ดเดี่ยว ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกสูงเหยียดยาวในแนวตั้งได้ดี จึงเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เป็นลวดลายในการตกแต่งผนังอาคารที่ค่อนข้างเตี้ยให้ดูสูงขึ้น หรือใช้กับลวดลายเครื่องแต่งกายในคนอ้วนให้ดูผอมลง หรือคนเตี้ยให้แลดูสูงขึ้นเป็นต้น แต่ผู้ออกแบบควรใช้เทคนิคเลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้มากเกินไปจะรู้สึกแข็งทื่อ ขาดความรู้สึกอ่อนโยนในทันที
2.  เส้นนอน โดยปกติให้ความรู้สึกสงบเรียบ ราบเรียบเกลี้ยงเกลานิ่งเฉย ดุดท้องทะเลปราศจากคลื่นลม เส้นในแนวนอนนี้จะให้ความรู้สึกเหยียดยาวไปในทิศทางราบได้มาก พูดง่ายๆก็คือความรู้สึกที่ตรงข้ามกับเส้นประเภทตั้งฉาก  ผู้ออกแบบจึงนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันตามปริมาณที่เหมาะสม ในการออกแบบเพื่อใช้ในชีวิตประวันของมนุษย์ เช่น การใช้เป็นลวดลายเครื่องแต่งกายในหมู่คนผอมสูง เพื่อช่วยให้ดูอ้วนขึ้น มีรูปร่างกะทัดรัดยิ่งขึ้น เป็นต้น
3.  เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ความไม่คงที่ในลักษณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกไม่มั่งคงแข็งแรงด้วย จึงเป็นลักษณะเส้นที่ไม่เหมาะในการใช้ตกแต่งสิ่งที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงและความเที่ยงตรง เช่น แนวของตัวอาคาร แนวรั้ว หรือแนวขอบทางเดินในการตกแต่งสนาม แต่เส้นเฉียงก็เหมาะกับงานออกแบบตกแต่งอื่นๆ เช่น เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ทำให้ดูตื่นเต้น มีชีวิตชีวาด้วยลีลาความรู้สึกที่เร้าสายตาให้ดูคึกคักน่าสนใจและเกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวนั่นเอง ในการใช้ควรนำไปใช้ร่วมกับเส้นประเภทอื่นด้วยปริมาณที่พอเหมาะ
4.  เส้นคดโค้ง ให้ความรู้สึกในด้านความอ่อนช้อยนุ่มนวล แต่ขาดความมั่นคง ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวด้วย ผู้ออกแบบจึงนิยมไปใช้กับงานออกแบบที่ต้องการให้เกิดความรู้สึกดังกล่าว แต่ในทางตรงกันข้ามเป็นลักษณะเส้นที่ขาดความรู้สึกมั่นคงแข็งแรง จึงไม่เหมาะในการนำไปใช้ในการตกแต่งอาคารเพราะจะทำให้ดูขาดความรู้สึกแข็งแรง และความเที่ยงตรงของตัวอาคาร บางครั้งดูแล้วเหมือนตัวอาคารบิดเบี้ยวไม่ตรง เสียความรู้สึกที่ดีซึ่งควรจะเป็นด้วยอิทธิพลความรู้สึกของเส้นคดโค้งที่ชี้นำให้เป็นเช่นนั้น ผู้ออกแบบจึงควรระมัดระวังให้มากในการนำไปใช้


ของเด็กหญิงปรายฟ้า คงเมือง




ภาพนี้ใช้สีไม้ระบายเป็นพื้นหลังโดยการระบายสีในรูปของการไล่น้ำหนัก โทนสีอ่อน - สีแก่ และใช้สีเมจิกสีดำตัดเส้นเป็นลวดลายต่างๆ หรือจะใช้สีชอล์กก็ได้เวลาตัดเส้นหรือขีดเส้นเป็นรูปแบบต่างๆก็ใช้สีชอล์กที่เป็นสีดำตัดแทนนะคะ


เพราะฉะนัั้นการวาดภาพอะไรนั้นก็ต้องเป็นภาพค่อนข้างใหญ่และต้องการพื้นที่โชว์ลวดลายที่ชัดเจน และภาพที่ออกมานั้นจะดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น สำหรับลายเส้นนั้นก็มี เส้นตรง เส้นเฉียง เส้นแนวนอน เส้นวงกลม เส้นหยัก เส้นซิกแซก เส้นปะก็ได้นะคะ เวลานำมาใช้ก็ดูตามรูปทรงของภาพนั้นๆ เป็นหลัก


ผลงานชิ้นนี้ใช้เวลาสั้นมากประมาณชั่วโมงครึ่งได้เนื่องจากผลงานชิ้นใหญ่
 รายละเอียดน้อยเน้นรูปร่างเท่านั้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น