Children's art.

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

งานปั้นของหนูแบบ 2 มิติ


งานปั้น ส่วนใหญ่ในสมัยโบราณเป็นงานปั้นด้วยดิน
ซึ่งได้สร้างขึ้นตามงานปั้นแบบไทยประเพณี ด้วยโบราณวิธี ตามความรู้ของช่างปั้นแต่ก่อนนั้น อาจจำแนกงานปั้น และ วิธีการปั้นดินออกเป็นแต่ละประเภท คือ

        งานปั้นดินดิบ งานปั้นประเภทนี้ใช้ดินเหนียว ที่นำมาจากแหล่งดินในธรรมชาติทั่วไป หากต้องการให้มีความแข็งแรง และคงทนอยู่ได้นานๆ จึงนำเอาวัสดุบางอย่างผสมร่วมเข้ากับเนื้อดิน เพื่อเสริมให้ดินมีโครงสร้างแข็งแรงขึ้นเป็นพิเศษ ได้แก่ กระดาษฟาง กระดาษข่อย และตัวไพ่จีน เป็นต้น
        งานปั้นดินเผา เป็นงานปั้นประเภทใช้ดินเหนียว ซึ่งนำมาจากแหล่งดินในธรรมชาติทั่วไป เช่นเดียวกับดินที่ ใช้ในงานปั้นดินดิบ แต่เนื้อดินที่จะใช้ในงานปั้นดินเผา ต้องใช้ทรายแม่น้ำ ที่ผ่านการร่อนเอาแต่ทรายละเอียดผสม ร่วมกับเนื้อดินแล้ว นวดดินกับทรายให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน และทำให้เนื้อดินแน่น อนึ่ง การที่ใช้ทรายผสม ร่วมกับดินเหนียวเช่นนี้ ก็เพื่อช่วยมิให้เนื้อดินแตกร้าว เมื่อแห้งสนิท และ นำเข้าเผาไฟให้สุก
        งานปั้นดินดิบ และ งานปั้นดินเผา ในลักษณะงานปั้นแบบไทยประเพณี ช่างปั้นอาศัยเครื่องมือร่วมด้วยกับการปั้นด้วยมือของช่างปั้นเองด้วย เครื่องมือ สำหรับงานปั้นดินอย่างโบราณวิธี มีดังนี้
                 ไม้ขูด        ใช้สำหรับขูด ควักดิน
                 ไม้เนียน     ใช้สำหรับปั้นแต่งส่วนย่อยๆ
                 ไม้กวด      ใช้สำหรับกวดดินให้เรียบ
                 ไม้กราด    ใช้สำหรับขูดผิวดิน ส่วนที่ไม่ต้องการออกจากงานปั้น
       เครื่องมือ สำหรับงานปั้นอาจจะมีจำนวนมาก หรือน้อยชิ้น หรือมีต่างๆ ไปตามแต่ความต้องการ และจำเป็น สำหรับช่างปั้นแต่ละคนวิธีการและขั้นตอนการปั้น
            ในสมัยปัจจุบันเป็นการนำเอาวัสดุอ่อนที่สามารถรวมกันได้  หรือแบ่งแยกออกจากันได้  เช่น  ดินเหนียว  ดินน้ำมัน  ขี้ผึ้ง มาตกแต่งทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ  โดยใช้วิธีขยำ  บีบ  นวด  ตัด  ขัด  ขูด  ปะ  เป็นต้น
ประเภทของงานปั้น งานปั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. งานปั้นแบบนุนตํ่า เป็นรูปปั้นที่มีแผ่นหลังรองรับ และภาพจะนูนสูงขึ้นมาจากพื้นเพียงเล็กน้อย มองเห็นด้านหน้าได้เพียงด้านเดียว เช่น เหรียญต่างๆ พระเครื่องที่มีลักษณะเป็นเหรียญ เป็นต้น



2. งานปั้นแบบนูนสูง  
เป็นรูปปั้นที่มีแผ่นหลังรองรับ คล้ายรูปปั้นนูนต่ำ แต่ภาพจะนูนสูงขึ้นมาจากพื้นรองรับมากกว่า และมีการลดหลั่นตามความเหมาะสม เช่นรูปประดับฝาผนัง



3. งานปั้นแบบลอยตัว  เป็นรูปปั้นที่สามารถมองเห็นได้ทุกด้านโดยรอบ  มีลักษณะเป็นภาพ  3  มิติ  ส่วนมากมักจะมีฐานเพื่อสามารถวางตั้งกับพื้นได้  เช่น  รูปปั้นอนุสาวรีย์ต่าง  รูปปั้นเครื่องใช้ต่าง ๆ  เป็นต้น 



ผลงานวันนี้ี เป็นการปั้นนุนต่ำแต่ทำเป็นแบบเม็ด เม็ด แล้วติดกาวติดลงบนพื้นกระดาษสี แต่ครั้งนี้ก็คล้ายๆกัน เพียงแต่เราจะไม่ทำแบบเม็ดๆ แต่เราจะทำแบบเรียบๆ แบนๆ



 หรือเรียกว่าปั้น แบบ 2 มิติ แล้วมันคืออะไร? 



การปั้นงานแบบ 2 มิติ ก็คือ การปั้นนูนต่ำค่ะ ต่ำมากๆ สูงเหนือพื้นเพียงเล็กน้อย เราสามารถมองเห็นได้เฉพาะด้านบน เห็นความกว้าง ความยาวได้ชัด ส่วนด้านข้างเห็นได้น้อย แต่เราต้องใช้กาวลาเทกซ์ทาด้านหลังด้วยนะคะ แล้วค่อยติดลงบนการะดาษโปสเตอร์สีชนิดแข็ง  เวลานำดินน้ำมันติดลงบนกระดาษ เราควรร่างภาพเบาๆ บางๆ เป็นแบบก่อนแล้วก็นวดดินน้ำมันให้นิ่ม แบ่งดินทีละน้อยแล้วบี้ลงบนกระดาษให้อยู่ในขอบเขตที่เราร่างดินสอไว้นะคะ ส่วนพื้นหลังเป็นสีของกระดาษอยู่แล้ว ก็เป็นอันเสร็จวิธีการปั้นดินน้ำมันนูนต่ำแบบง่ายๆสำหรับเด็กเล็กๆ อายุประมาณ 4 ขวบ                 




ข้อมูลบางส่วนมาจาก...ช่างสิบหมู่  http://www.changsipmu.com/

วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2557

จุดสีสร้างภาพของเด็กวัยใส

จุด (Dot)  หมายถึง  รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ  ปรากฎที่พื้นผิว  ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด

จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ  เช่น  นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น  และการนำจุดมาวางให้เหมาะสม  ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้

ความหมายของจุดตามหลักวิชาการก็คือ จุด (เรขาคณิตย์)

จุด เป็นแนวความคิดที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่แน่นอนซึ่งจุดนั้นไม่มีปริมาตร พื้นที่ หรือความยาว มีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งในภูมิศาสตร์ ฟิสิกส์ ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ (ทั้งสองมิติและสามมิติ) และในสาขาอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับในทางคณิตศาสตร์ จุดเป็นส่วนหนึ่งของทอพอโลยี ซึ่งรูปแบบใดๆ ในปริภูมิ จุดคือองค์ประกอบพื้นฐานของวัตถุรูปแบบใดๆ ในปริภูมิ ถึงแม้จุดจะไร้ขนาดและทิศทาง แต่การเขียนจุดขึ้นมาลอยๆ ยังจำเป็นต้องเขียนแทนด้วยวงกลมทึบขนาดเล็ก (หรือเท่าปลายดินสอ) เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีจุดอยู่ ณ ตำแหน่งนั้นๆ



การจุดสีสร้างภาพก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้ผลงานดูโดดเด่นได้อีกหนึ่งรูปแบบ แต่ต้องใช้ความอดทนและต้องมีสมาธิสูงในการทำงาน สำหรับวัสดุที่ใช้ในการจุดนั้นควรเป็นวัสดุปลายเล็กๆ เช่น คอดตอลบัส ไม้เสียบลูกชิ้นปลายตัด กิ่งไม้ ด้ามตะเกียบ ด้ามพู่กัน ปากกาหรืออะไรก็ได้ที่เล็กและไม่แหลมมากขอให้เป็นหน้าตัด ใช้จุ่มสี แต้มลงบนภาพที่เราได้ร่างเอาไว้ ส่วนสีที่ใช้ก็เป็นสีโปสเตอร์ เวลาผสมสีควรจะผสมให้ข้น อย่าใสจนเกินไป เดี๋ยวเวลานำวัสดุไปจุ่มสี สีจะไม่จับติดวัสดุ ทำให้ไม่มีเนื้อสีที่จะติดกับกระดาษขาว

ภาพดูมีน้ำหนัก และดูมีมิติ มากขึ้นภาพจะดูสวยสะดุดตาขึ้นมาก็อยู่ที่การใช้สีด้วยนะคะ การวางโทนสีไล่โทนก็จะสวยมากกว่าการใช้สีพื้นเรียบๆ จะทำให้ผลงานการจุดสีสร้างภาพชิ้นนี้ เด็กอายุประมาณ 10 ขวบ ได้สร้างผลงานร่วมกับผู้ปกครอง เป็นกิจกรรมที่สร้างให้ครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกัน


ขอแนะนำ... ในช่วงที่เด็กๆยังเล็กอยู่อายุไม่เกิน 12 ขวบ เป็นวัยที่เราสามารถสร้างและแต่งเติมนิสัย ความสามารถ พิเศษ การอยู่ร่วมกับครอบครัวในการทำกิจกรรมแบบธรรมชาติ การไปเที่ยวด้วยกัน หรือการไปทำบุญตักบาตร เด็กๆ ยังคงต้องการผู้ปกครองเสมอ ดังนั้นเมื่อเด็กๆเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้น สิ่งที่ผู้ปกครองต้องการและคาดหวังอาจจะผิดหวังนะคะ เพราะเด็กๆ จะเริ่มมีโลกส่วนตัว ชอบความสงบ ไม่ค่อยชอบออกนอกบ้านกับผู้ปกครอง และชอบการพูดคุยกับเพื่อนๆ เด็กๆ บางคนมีความสนใจที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนชอบแต่งตัว ชอบวาดรูป ชอบอ่านหนังสือการ์ตุน หรือหนังสือนวนิยาย ชอบเล่นกีฬา ชอบการแสดง ชอบร้องเพลง ฯลฯ ผู้ปกครองควรส่งเสริมเลยนะคะตามความสามารถของเด็กแต่ละคน



ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณแหล่งข้อมูลต่างๆ 

ดร.สุชาติ วงษ์ทอง และคณะ. ทัศนศิลป์ ม.4-ม.6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช, 2546.
ดร.สุชาติ วงษ์ทอง และคณะ. ทัศนศิลป์ ม.4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช, 2549.