Children's art.

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มาสร้างสรรค์...ที่ทับกระดาษกันเถอะ

ที่ทับกระดาษ..จากปูนปลาสเตอร์  เป็นผลงานอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถดัดแปลงโดยใช้วัสดุได้หลายรูปแบบ สำหรับครั้งนี้วัสดุที่ใช้เราจะใช้ปูนพลาสเตอร์นำมาผสมนํ้าในสัดส่วนที่พอเหมาะตามคำแนะนำข้างถุงปูนปลาสเตอร์ที่เราซื้อมาแล้วนำมาเทใส่บล็อกแม่พิมพ์จะเป็นถ้วย หรือแก้วก็ได้ที่มีพื้นผิวค่อนข้างเรียบและมีความมัน  จากนั้นก็ทิ้งไว้รอให้ปูนแห้ง  เมื่อแห้งดีแล้วก็แกะบล็อกแม่พิมพ์ออกเราก็จะได้แบบปูนขาวๆ      

สี ที่เราใช้ระบายหรือทาลงบนปูนปลาสเตอร์นั้นโดยทั่วๆไปคือสีนํ้าพลาสติกหรือสีนํ้าอคริลิคหรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าสีทาบ้าน สีชนิดนี้เหมาะที่จะทาลงบนพื้นผิวปูนหรือปูนปลาสเตอร์และก็หาได้ทั่วๆไปตามร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง แต่จะไม่ได้สีครบทุกสีที่เห็นก็มีแต่สีหลักๆ ขาวเหลืองแดงนํ้าเงินและก็ดำ แต่สีที่ใช้จะผสมขึ้นเองโดยอาศัยสีขาวอย่างเดียวเป็นหลัก สีที่ใช้ไม่ผสมนํ้า ข้อดี คือทาสีได้เนียนและมีเนื้อสีที่หนาและก็มีผลดีกับการเคลือบเงาด้วย หรือจะใช้สีโปสเตอร์ก็ได้ค่ะ





        ก่อนจะลงสีเราควรร่างภาพลงในแผ่นปูนคร่าวๆ ซะก่อน โดยใช้ดินสอร่างเบาๆ นะคะจะออกแบบเป็นภาพอะไรก็ได้ค่ะ เพราะภาพที่เราจะนำมาลงสีนั้น เราจะใช้สีโปสเตอร์ระบายด้วยพู่กัน ดังนั้นเราควรจะผสมสีโปสเตอร์ใส่ภาชนะเอาไว้หลายๆ สี และแต่ละครั้งที่จุ่มสีแต่ละสี ควรจะล้างพู่กันให้สะอาดเพื่อที่สีแต่ละสีจะไม่หม่อนหมองหรือไม่สดใส





            
        ระบายสีค่อนข้างลำบากไม่เหมือนระบายในกระดาษ เราควรจะต้องหาที่วางที่ทับกระดาษให้สูงจากพื้นโต๊ะพอสมควร และสามารถหมุนผลงานของเราได้ด้วย เมื่อระบายเสร็จแล้วต้องการให้ภาพเด่นชัดมากขึ้น ควรจะตัดเส้นสีดำด้วยพู่กันตามรอยดินสอที่เราร่างภาพ



เมื่อผลงานเสร็จแล้วภาพที่เราได้ระบายสีจะดูด้านๆ เพราะปูนพาสเตอร์ได้ดูดสีเอาไว้บางส่วน แล้วลองสังเกตเวลาจับผลงานสีจะติดมือเล็กน้อย ดังนั้นเราควรจะนำผลงานผึ่งแดดให้แห้งสนิท แล้วพ่นเคลียร์ เคลือบเงารอบด้านทั้งด้านล่างและด้านบน เมื่อแห้งแล้วผลงานจะมันและเงามากขึ้นเวลาโดนน้ำสีจะไม่ติดมือติดกระดาษ


           



              




วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วาดรูปสีนํ้าครั้งแรกของเด็กๆ


วาดรูปสีนํ้าครั้งแรกของเด็ก การวาดรูปสีนํ้าสำหรับมือใหม่ โดยเฉพาะช่วงแรกยังไม่สามารถกะปริมาณของสีและนํ้าได้ทำให้เวลาผสมสีมักจะเข้ม เกิน หรือไม่ก็อ่อนเกินไป สีนํ้าไม่นิยมทำให้สีอ่อนลงด้วยสีขาว หากใช้สีขาวเราคงจะกะความอ่อนแก่ของสีได้ง่ายขึ้น เวลาผสม สีนํ้าให้มีค่านํ้าหนักที่หลากหลาย จึงเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับมือใหม่ ระหว่างผสมสีนั้นควรหาเศษกระดาษมาทดลองสีที่ผสมว่าได้ตามต้องการแล้ว จึงค่อยลงมือระบายในกระดาษจริง
        ความสามารถด้านการวาดภาพมาจากการฝึกฝน เมื่อเป็นการฝึกฝน ดังนั้นการฝึกทำให้มีทักษะการวาดภาพที่ดีขึ้น บางครั้งเด็กอยากที่จะพัฒนาผลงานของตนให้ดีขึ้น ประณีตขึ้น ครูควรส่งเสริมความปรารถนาในการทำผลงานต่าง ๆ ให้สำเร็จ แต่ผลงานทุกอย่างไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์
เสมอไป

คุณสมบัติของสีนํ้าทั่วไป
1. ลักษณะโปร่งใส (Transparent Quality)
    เนื่องจากสีนํ้ามีส่วนผสมของกาว และสีที่บดอย่างละเอียด ดังนั้น เมื่อระบายนํ้าบนกระดาษสีขาวจึงมีเนื้อที่ไม่หนาทึบจนเกิดไป ทำให้เกิดลักษณะโปร่งใส และการระบายสีนํ้าจะต้องระบายไปทีเดียว ไม่ระบายซํ้ากัน เพราะจะทำให้สีช้าหรอหม่นได้ และควรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ ในบางกรณีอาจจะระบายจากสีแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ทั้งนี้ต้องคอยระวังอย่าให้นํ้าที่ใช้ผสมสีขุ่นหรือคล้ำ เพราะจำทำให้สีหม่นหรือทึบได้
2. ลักษณะเปียกชุ่ม  (Soft Quality)
    เนื่องจากในการระบายสี จะต้องผสมผสานกับนํ้าและระบายให้ซึมเข้าหากันเมื่อต้องการให้กลมกลืนกัน ดังนั้น เมื่อระบายไปแล้วลักษณะของสีที่แห้งบนกระดาษ จะคงความเปียกชุ่มของสี จะปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ และในบางกรณีที่ใช้สีนํ้าระบายมากเกินไป แล้วปล่อยให้สีแห้งไปเอง ก็จะเกิดคราบของสี (Sfumato ) ปรากฏให้เห็น ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งศิลปินสีน้ำท่านใดสามารถสร้างสรรค์ให้คราบนั้นน่าดูและมีความหมายขึ้น ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของสีนํ้าที่มีค่าควรชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง
3. สีนํ้ามีคุณสมบัติที่แห้งเร็ว
    เมื่อเทียบกับสีนํ้ามัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเชื่อต่อผู้สนใจทั้งหลายว่า เป็นสื่อที่ระบายยาก และเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถตัดสินใจรวดเร็วในการถ่ายทอดเท่านั้น อย่างไรก็ดีความเชื่อดังกล่าวอาจแก้ไขได้ ด้วยการลงมือทำจริง เพราะเหตุว่า การระบายสีน้ำมีวิธีระบายหลายวิธี และเราสามารถควบคุมคุณสมบัติแห้งเร็วนี้ได้ ด้วยการผสมกลีเซอรีนลงในน้ำผสมสีก็จะช่วยให้แห้งช้าได้


การเรียนศิลปะของเด็กๆนั้น ถ้าจำเจ หรือทำบ่อยเกินไปมีน้อยคนนักที่จะไม่เบื่อ แต่เด็กส่วนใหญ่ชอบทำกิจกรรมหลากหลายในหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน



สำหรับวันนี้วาดภาพแล้วจะให้ใช้สีน้ำอย่างเดียวคงจะดี  การวาดภาพโดยใช้สีน้ำเด็กเกือบทุกระดับอายุ ส่วนมากชอบหมดค่ะ  มันสนุกไม่ต้องกังวล มันสนุกก็ตรงที่การผสมสีนี่ล่ะค่ะ ผสมแล้วเกิดสีใหม่ๆ เด็กๆจะตื่นเต้นกันมาก เรามาทบทวนเรื่องของแม่สีกันหน่อยดีกว่านะค่ะ



แม่สี   คือ สีที่สามารถนำมาผสมแล้วได้สีใหม่ และเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ
แม่สี   มี 3 สี คือ สีแดง  สีเหลือง  สีน้ำเงิน

สีแดง สีเหลือง สีส้ม        สีเหลือง  สีน้ำเงิน  =  สีเขียว       สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง

วรรณะของสี     
วรรณะเย็น มี สีเขียว สีเขียวฟ้า สีฟ้า สีน้ำเงิน สีน้ำเงินม่วง สีม่วง ...

วรรณะร้อน มี สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีส้มแดง สีแดง สีแดงม่วง ...



เด็กๆ ชอบที่จะจินตนาการมากทั้งๆ ที่วาดได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ผู้ใหญู่ก็ต้องคอยบอกชี้แนะ หรืออาจจะค้นคว้าจากหนังสือมาดูเพื่อเป็นแบบอย่าง บางครั้งการวาดรูปจากแบบในหนังสือจะได้รายละเอียดของสิ่งที่เราต้องการมากกว่า


พยายามหากระดาษวาดภาพแผ่นใหญ่จะทำให้ได้อารมณ์การวาดและความสนุกตื่นเต้นมาก  เพราะฉะนั้นการร่างภาพก็ต้องเป็นภาพที่ค่อนข้างโตชัดเจน จึงแนะนำให้ใช้สีน้ำทั้งภาพ หรืออาจจะใช้สีน้ำเป็นส่วนประกอบก็ได้ถ้าเราใช้สีชอล์ก ระบายเป็นตัวภาพและสีน้ำเป็นพื้นหลัง เพื่อที่งานจะได้สำเร็จเร็วขึ้น ไม่ใช้เวลานานเกินไป เด็กจะเกิดอาการเบื่อซะก่อนที่ผลงานจะสำเร็จ


ถ้าอยากจะวาดภาพเก่งต้องหมั่นวาดภาพตามต้นฉบับหรือจากแหล่งต่างๆ เช่น หนังสือ ของจริง หรือสื่ออะไรก็ได้วาดบ่อยๆ รับรองต้องวาดได้อยู่แล้วค่ะ....








วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เส้น-สี ในจินตนาการ








....เส้น...  


1.  เส้นตั้งฉาก เป็นลักษณะเส้นที่ให้ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง เด็ดเดี่ยว ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกสูงเหยียดยาวในแนวตั้งได้ดี จึงเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เป็นลวดลายในการตกแต่งผนังอาคารที่ค่อนข้างเตี้ยให้ดูสูงขึ้น หรือใช้กับลวดลายเครื่องแต่งกายในคนอ้วนให้ดูผอมลง หรือคนเตี้ยให้แลดูสูงขึ้นเป็นต้น แต่ผู้ออกแบบควรใช้เทคนิคเลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้มากเกินไปจะรู้สึกแข็งทื่อ ขาดความรู้สึกอ่อนโยนในทันที
2.  เส้นนอน โดยปกติให้ความรู้สึกสงบเรียบ ราบเรียบเกลี้ยงเกลานิ่งเฉย ดุดท้องทะเลปราศจากคลื่นลม เส้นในแนวนอนนี้จะให้ความรู้สึกเหยียดยาวไปในทิศทางราบได้มาก พูดง่ายๆก็คือความรู้สึกที่ตรงข้ามกับเส้นประเภทตั้งฉาก  ผู้ออกแบบจึงนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันตามปริมาณที่เหมาะสม ในการออกแบบเพื่อใช้ในชีวิตประวันของมนุษย์ เช่น การใช้เป็นลวดลายเครื่องแต่งกายในหมู่คนผอมสูง เพื่อช่วยให้ดูอ้วนขึ้น มีรูปร่างกะทัดรัดยิ่งขึ้น เป็นต้น
3.  เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ความไม่คงที่ในลักษณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกไม่มั่งคงแข็งแรงด้วย จึงเป็นลักษณะเส้นที่ไม่เหมาะในการใช้ตกแต่งสิ่งที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงและความเที่ยงตรง เช่น แนวของตัวอาคาร แนวรั้ว หรือแนวขอบทางเดินในการตกแต่งสนาม แต่เส้นเฉียงก็เหมาะกับงานออกแบบตกแต่งอื่นๆ เช่น เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ทำให้ดูตื่นเต้น มีชีวิตชีวาด้วยลีลาความรู้สึกที่เร้าสายตาให้ดูคึกคักน่าสนใจและเกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวนั่นเอง ในการใช้ควรนำไปใช้ร่วมกับเส้นประเภทอื่นด้วยปริมาณที่พอเหมาะ
4.  เส้นคดโค้ง ให้ความรู้สึกในด้านความอ่อนช้อยนุ่มนวล แต่ขาดความมั่นคง ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวด้วย ผู้ออกแบบจึงนิยมไปใช้กับงานออกแบบที่ต้องการให้เกิดความรู้สึกดังกล่าว แต่ในทางตรงกันข้ามเป็นลักษณะเส้นที่ขาดความรู้สึกมั่นคงแข็งแรง จึงไม่เหมาะในการนำไปใช้ในการตกแต่งอาคารเพราะจะทำให้ดูขาดความรู้สึกแข็งแรง และความเที่ยงตรงของตัวอาคาร บางครั้งดูแล้วเหมือนตัวอาคารบิดเบี้ยวไม่ตรง เสียความรู้สึกที่ดีซึ่งควรจะเป็นด้วยอิทธิพลความรู้สึกของเส้นคดโค้งที่ชี้นำให้เป็นเช่นนั้น ผู้ออกแบบจึงควรระมัดระวังให้มากในการนำไปใช้


ของเด็กหญิงปรายฟ้า คงเมือง




ภาพนี้ใช้สีไม้ระบายเป็นพื้นหลังโดยการระบายสีในรูปของการไล่น้ำหนัก โทนสีอ่อน - สีแก่ และใช้สีเมจิกสีดำตัดเส้นเป็นลวดลายต่างๆ หรือจะใช้สีชอล์กก็ได้เวลาตัดเส้นหรือขีดเส้นเป็นรูปแบบต่างๆก็ใช้สีชอล์กที่เป็นสีดำตัดแทนนะคะ


เพราะฉะนัั้นการวาดภาพอะไรนั้นก็ต้องเป็นภาพค่อนข้างใหญ่และต้องการพื้นที่โชว์ลวดลายที่ชัดเจน และภาพที่ออกมานั้นจะดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น สำหรับลายเส้นนั้นก็มี เส้นตรง เส้นเฉียง เส้นแนวนอน เส้นวงกลม เส้นหยัก เส้นซิกแซก เส้นปะก็ได้นะคะ เวลานำมาใช้ก็ดูตามรูปทรงของภาพนั้นๆ เป็นหลัก


ผลงานชิ้นนี้ใช้เวลาสั้นมากประมาณชั่วโมงครึ่งได้เนื่องจากผลงานชิ้นใหญ่
 รายละเอียดน้อยเน้นรูปร่างเท่านั้น





วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สนุก..สไตส์บาติกของเด็กๆ

ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีขั้นตอนการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธี การระบาย การแต้ม หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบๆครั้ง 

         ผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน แล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ  คำว่าบาติก (Batik) หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า " ติก" มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติกจึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ             

         วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน ( wax-writing ) ดังนั้นผ้าบาติก จึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แม้ว่าวิธีีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตามแต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกก็คือจะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก
ภาพบาติกของเด็กๆ เด็กทำสนุก ผู้ใหญ่ก็ทำได้ค่ะ... แต่ไม่ใช่ภาพบาติกที่ทำกับผ้าจริงๆนะคะเป็นการสร้างงานสไตล์ใกล้เคียงถ้ามองดูโดยภาพรวมค่ะ


ขั้นตอนการทำไม่ยากเลยค่ะ สีที่ใช้คือ สีชอล์กนี่ล่ะค่ะกับสีน้ำ  ประการแรกก็วาดภาพอย่าให้มีลายละเอียดมากเกินไปหรือเล็กเกินไป ให้ระบายสีชอล์กส่วนที่เป็นภาพนะคะ ส่วนพื้นหลังภาพเก็บเอาไว้ระบายสีน้ำ การระบายสีชอล์กจะให้ดูสดใสก็ระบายสีแบบไล่โทนสีน้ำหนักอ่อน แก่ ระบายทุกสีตามที่ต้องการ

เมื่อระบายสีชอล์กเสร็จแล้วถึงขั้นตอนตัดเส้นเราอาจจะตัดสีเหมือนจริงหรือสีดำก่อนให้เรียบร้อย หลังจากนั้นก็ใช้สีชอล์กที่เป็นสีขาวระบายล้อมรอบภาพภาพอีกครั้ง หรือจะตัดเส้นบางส่วนให้เป็นสีขาว พยายามกดสีหน่อยนะเพื่อให้สีขาวทึบแสงมากๆ หลังจากนั้นก็ใช้พู่กันเบอร์ใหญ่ๆ จุ่มสีน้ำระบายได้เลยค่ะ พยายามผสมสีใส่ภาชนะไว้มากๆหน่อย จะได้มีสีที่ผสมแล้วไม่หมด ระหว่างระบายสีภาพนั้นๆ


น้องโฟร์โมส อายุ 5 ขวบค่ะ... ผมน้องโน๊ต และหนูน้องแน็ต อายุ 7 ขวบค่ะ
(เจ้าของผลงาน)


วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ภาพวาดโทนสีร้อน-สีเย็น


ภาพวาดโทนสีร้อน-สีเย็น


         สี (Color)  คือลักษณะของแสงสว่างที่ปรากฏแก่ตา ให้เห็นเป็น แดง ดำ เขียว เหลือง ฯลฯ การที่ตาจะมองเห็นวัตถุเป็นสีใดก็ต่อเมื่อแสงจากวัตถุนั้นสะท้อนมาเข้าตา ซึ่งอาจจะเป็นแสงที่เปล่งออกมาเอง หรือแสงจากที่อื่นมากระทบวัตถุแสงสะท้อนสีก็ได้ ถ้าเราให้แสงส่องผ่านแท่งแก้วสามเหลื่ยมแล้วนำฉากมารับ จะปรากฏเป็นสีขึ้นมา 7 สี เรียกว่าสเปคครับ (Spectrum) คือ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีทั้งเจ็ด บางทีตาอาจเห็นได้ชัดเจนเพียง 5 สีคือ สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง และสีแดง

การผสมดังกล่าวจะได้สีเป็นขั้นต่างๆ เป็นอันดับขั้นของสี 
1. สีขั้นต้นหรือแม่สี (Primary Color)(1) 
       สีน้ำเงินแก่ (Prussian blue) หรือ blue 
       สีแดงชาด (Crimson Lake) หรือ red 
       สีเหลือง (Camboge Tint) หรือ Yellow 
2. สีขั้นที่สอง (Hinary of Secondary Color) เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นต้น คือ 
       ส้ม (Orange) ได้จาก แดง เหลือง
       เขียว (Green) ได้จากน้ำเงิน เหลือง
       ม่วง (Violet) ได้จาก น้ำเงิน แดง
3. สีขั้นที่สาม (Intermediate Color) เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นที่สองกับสีขั้นต้นที่อยู่ใกล้กัน คือ
       เหลืองแกมเขียว (เหลือง + เขียว)
       เหลืองแกมส้ม (เหลือง + ส้ม)
       แดงแกมส้ม (แดง + ส้ม)
       แดงแกมม่วง (แดง + ม่วง)
       น้ำเงินแกมม่วง (น้ำเงิน + ม่วง)
       น้ำเงินแกมเขียว (น้ำเงิน + เขียว
การสร้างภาพโทนสีร้อน-สีเย็น ของเด็กอายุไม่ต่ำกว่า 5 ขวบนั้น เมื่อผลงานออกมาแล้วไม่คิดว่าเด็กๆ จะทำได้สมบูรณ์การไล่โทนสีทำได้ 7 ระยะสำหรับเด็กเล็กๆ แต่ต้องมีตัวอย่างประกอบให้ดูสักหน่อย หรือจัดเรียงสีชอล์กตามตัวอย่างสี

                                                                
ตัวอย่าง สี โทนร้อน-โทนเย็น จะแบ่งออกเป็น 7 ระยะ เริ่มที่สีร้อนได้แก่ เหลือง ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง แดงม่วง ม่วง สีเย็นได้แก่ เหลือง เขียวอ่อน เขียวสด เขียวแก่ ฟ้าเข้ม น้ำเงิน ม่วง
น้องใหม่ อายุ 5 ขวบ
น้องเมย์ อายุ 5 ขวบ