จุด (Dot) หมายถึง
รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฎที่พื้นผิว ซึ่งเกิดจากการจิ้ม
กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ดินสอ ปากกา
พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด
จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา
พื้นผิว ฯลฯ เช่น นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น
และการนำจุดมาวางให้เหมาะสม ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง
และลักษณะผิวได้
ความหมายของจุดตามหลักวิชาการก็คือ จุด (เรขาคณิตย์)
จุด เป็นแนวความคิดที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่แน่นอนซึ่งจุดนั้นไม่มีปริมาตร พื้นที่ หรือความยาว
มีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งในภูมิศาสตร์ ฟิสิกส์ ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์
(ทั้งสองมิติและสามมิติ) และในสาขาอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับในทางคณิตศาสตร์
จุดเป็นส่วนหนึ่งของทอพอโลยี ซึ่งรูปแบบใดๆ ในปริภูมิ
จุดคือองค์ประกอบพื้นฐานของวัตถุรูปแบบใดๆ ในปริภูมิ ถึงแม้จุดจะไร้ขนาดและทิศทาง
แต่การเขียนจุดขึ้นมาลอยๆ ยังจำเป็นต้องเขียนแทนด้วยวงกลมทึบขนาดเล็ก
(หรือเท่าปลายดินสอ) เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีจุดอยู่ ณ ตำแหน่งนั้นๆ
การจุดสีสร้างภาพก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้ผลงานดูโดดเด่นได้อีกหนึ่งรูปแบบ แต่ต้องใช้ความอดทนและต้องมีสมาธิสูงในการทำงาน สำหรับวัสดุที่ใช้ในการจุดนั้นควรเป็นวัสดุปลายเล็กๆ เช่น คอดตอลบัส ไม้เสียบลูกชิ้นปลายตัด กิ่งไม้ ด้ามตะเกียบ ด้ามพู่กัน ปากกาหรืออะไรก็ได้ที่เล็กและไม่แหลมมากขอให้เป็นหน้าตัด ใช้จุ่มสี แต้มลงบนภาพที่เราได้ร่างเอาไว้ ส่วนสีที่ใช้ก็เป็นสีโปสเตอร์ เวลาผสมสีควรจะผสมให้ข้น อย่าใสจนเกินไป เดี๋ยวเวลานำวัสดุไปจุ่มสี สีจะไม่จับติดวัสดุ ทำให้ไม่มีเนื้อสีที่จะติดกับกระดาษขาว
ภาพดูมีน้ำหนัก และดูมีมิติ มากขึ้นภาพจะดูสวยสะดุดตาขึ้นมาก็อยู่ที่การใช้สีด้วยนะคะ การวางโทนสีไล่โทนก็จะสวยมากกว่าการใช้สีพื้นเรียบๆ จะทำให้ผลงานการจุดสีสร้างภาพชิ้นนี้ เด็กอายุประมาณ 10 ขวบ ได้สร้างผลงานร่วมกับผู้ปกครอง เป็นกิจกรรมที่สร้างให้ครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกัน
ขอแนะนำ... ในช่วงที่เด็กๆยังเล็กอยู่อายุไม่เกิน 12 ขวบ เป็นวัยที่เราสามารถสร้างและแต่งเติมนิสัย ความสามารถ พิเศษ การอยู่ร่วมกับครอบครัวในการทำกิจกรรมแบบธรรมชาติ การไปเที่ยวด้วยกัน หรือการไปทำบุญตักบาตร เด็กๆ ยังคงต้องการผู้ปกครองเสมอ ดังนั้นเมื่อเด็กๆเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้น สิ่งที่ผู้ปกครองต้องการและคาดหวังอาจจะผิดหวังนะคะ เพราะเด็กๆ จะเริ่มมีโลกส่วนตัว ชอบความสงบ ไม่ค่อยชอบออกนอกบ้านกับผู้ปกครอง และชอบการพูดคุยกับเพื่อนๆ เด็กๆ บางคนมีความสนใจที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนชอบแต่งตัว ชอบวาดรูป ชอบอ่านหนังสือการ์ตุน หรือหนังสือนวนิยาย ชอบเล่นกีฬา ชอบการแสดง ชอบร้องเพลง ฯลฯ ผู้ปกครองควรส่งเสริมเลยนะคะตามความสามารถของเด็กแต่ละคน
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณแหล่งข้อมูลต่างๆ
ดร.สุชาติ วงษ์ทอง และคณะ. ทัศนศิลป์ ม.4-ม.6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช, 2546.
ดร.สุชาติ วงษ์ทอง และคณะ. ทัศนศิลป์ ม.4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช, 2549.
ดร.สุชาติ วงษ์ทอง และคณะ. ทัศนศิลป์ ม.4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช, 2549.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น