เด็กวัยนี้เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองซีกขวาซึ่งเกี่ยวกับศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการดีมาก ถ้าส่งเสริมอย่างให้ถูกทางและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อไหร่หยุดหรือไม่มีพัฒนาการต่อเนื่อง บีบบังคับ สร้างความเป็นระบบแบบแผนมากเกินไป ล้วนแล้วแต่เป็นตัวขัดขวางความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของเด็ก
การศึกษาไทยยังไม่มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นว่าทุกวันนี้เราพยายามสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กไทยมากขึ้น หากแต่บางครั้งก็ยังไม่มีความเข้าใจมากพอ เด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกันในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์จึงต้องต่างกันไป
เด็กในระดับชั้นปฐมวัย จึงจำต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ เราจะเน้นให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เมื่อเขาสนุกและเพลิดเพลิน แล้วจะทำให้เขาสามารถคิดอะไรได้แปลกใหม่อย่างมีอิสระ และเสรีภาพ คนที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กต้องเข้าใจ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสร้างสถานการณ์ของการเรียนการสอนได้ ในการพัฒนาเสรีภาพการเขียนการคิดได้อย่างแท้จริง
วิชาศิลปะเป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดจินตนาการได้เต็มที่ตามที่ได้เห็น เด็กสามารถสร้างจินตนาการได้กว้างกว่าที่เราจะคาดเดาได้ บางทีก็อาจจะสะท้อนจิตใจความรู้สึกของ บางครั้งเด็กไม่สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดได้แต่สามารถถ่ายทอดมาทางงานศิลปะได้ วิชาศิลปะเป็นฐานทางการศึกษาพัฒนาการเด็กซึ่งควรเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่การเรียนการสอนศิลปะสำหรับเด็ก ปฐมวัยนั้นจะมุ่งเน้นถึงพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กมากกว่าผลงาน ดังนั้นจะเห็นว่ากิจกรรมต่างๆ ทางศิลปะจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง และสัมพันธ์กับการใช้ตา เช่นการ ดินนํ้ามัน ปั้นแป้ง ระบายสี และการวาดรูป เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆของนิ้วมือ แขน ไหล่ และส่วนอื่นๆของร่างกาย เป็นการ เตรียมความพร้อมในด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็กและใหญ่เป็นอย่างดี ทำให้เด็กสามารถหยิบจับสิ่งต่างๆได้ อันจะนำไปสู่การเรียนของเด็กต่อไป
ศิลปะกับความคิดสร้างสรรค์ นักจิตวิทยาทางการศึกษาทั่วโลกเชื่อกันว่าเด็กทุกคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถพัฒนาให้เจริญงอกงามได้ตามระดับความสามารถของแต่ละบุคคล ถ้าหากเด็กนั้นๆได้รับการเสริมและสนับสนุนให้มีการแสดงออกภายใต้ บรรยากาศสบายๆ สำหรับเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ในตัว สามารถพิจารณาจากพฤติกรรมได้หลายด้านดังนี้
1. การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยความคิดของตนเอง
2. การเป็นผู้เชื่อมั่นในความคิดของตัวเอง
3. การเป็นผู้กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา
4. การเป็นผู้ชอบสำรวจตรวจสอบความคิดใหม่ ๆ
5. การเป็นผู้มีประสาทสัมผัสอันดีต่อความงาม
6. การเป็นผู้สอบสวนสิ่งต่างๆ
จะเห็นได้ว่าการสร้างสรรค์ คือการเจริญงอกงามทั้งด้าน พฤติกรรม ความคิด ร่างกาย และศิลปะ คือ เครื่องมือที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพราะกระบวนการทางศิลปะไม่มีขอบเขตแห่งการสิ้นสุด สามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เด็กได้ตลอดเวลานอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กเกิดความคิดที่ไม่จบสิ้นอย่างต่อเนื่องและก้าวไปยังโลกแห่งจินตนาการอย่างไม่ขอบเขต
การเรียนศิลปะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร
1. ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้จินตนาการอย่างอิสระ ซึ่งจะมีผลให้เด็กเป็นคนกล้าคิดกล้าริเริ่มสิ่ง ใหม่ๆ ทำให้เด็กได้แสดงออกถึงสิ่งที่ตนคิดและรู้สึกโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยัง
2. ไม่สามารถสื่อสารทางตัวอักษรได้ดีทำให้เด็กรักการทำงานและมีความภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของเด็กแต่ละชิ้นเสร็จสิ้นลง
เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานของเขามากทำให้กระตือรือร้นที่จะสร้างผลงานชิ้นใหม่ต่อไปช่วยฝึกความประณีตและสมาธิเพราะใน
3. ขณะที่เด็กพยายามควบคุมมือให้สามารถวาดระบายสีหรือประดิษฐ์สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จนั้นต้องใช้ความตั้งใจความพยายามและใช้สมาธิที่แน่วแน่
4. มั่นคงตามวุฒิภาวะของเด็กแต่ละวัยทำให้เด็กเป็นคนมีสุนทรียภาพ มีความละเอียดอ่อนในจิตใจ ทำ ให้รู้คุณค่าในธรรมชาติ ศิลปะวัตถุ หรือ
5. รูปแบบความคิดต่างๆ ทำให้มีชีวิตและจิตใจที่งดงาม ฝึกให้เด็กรู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักปรับตัวและปรับความคิดให้สอดคล้อง
6. ยอมรับซึ่งกันและกัน อันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีและเป็นประชาธิปไตยในสังคม
ชุดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย
http://gotoknow.org/blog/kruoil/210983
แหล่งข้อมูลหนังสือแนวการจัดกิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนระดับก่อนประถศึกษาhttp://www.clinicdek.com/index.php?option=com_content&task=view&id=414&Itemid=61