การสร้างภาพโทนสีร้อน-สีเย็น
ทฤษฏีของสี (Theory of color) หลังจากที่ เซอร์ ไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ค้นพบสีในแสงสว่างแล้วได้เกิดทฤษฏีสีขึ้นมาโดยที่นักเคมีและนักศิลปะตกลงกันในเรื่องลักษณะแท่งการเกิดสี 2 ลักษณะ คือ การทำขึ้นเป็นสีต่างๆ กับการผสมกันระหว่างสี เพื่อให้เกิดอีกสีหนึ่ง ศิลปินได้มีการใช้สีต่างๆ และมีการค้นคว้าการใช้สีในทางศิลปะไว้มาก จนเกิดเป็นทฤษฏีสีอีกหลายทฤษฏี แต่ที่นิยมกันมากมี 2 ทฤษฏีของแปรงหรือระบบของแปรง (Prang System) และทฤษฏีหรือระบบของมัลเชล (Munsell System) ทฤษฏีทั่งสองมีส่วนคล้ายคลึงกัน และนำมาปฏิบัติได้ผลดีเป็นอย่างมากระบบสีของแปรง (Prang System)กำหนดแม่สีไว้ 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีทั้งสามสามารถผสมเป็นสีอื่นได้อีกมากมาย เมื่อนำเอาแม่สีทั้งสามผสมกันในอัตราหรือปริมาณที่เท่ากัน จะเกิดเป็น สีกลาง (Neutral Color) ขึ้น สีกลางดังกล่าวถ้านำไปผสมกับสีอื่นๆ จะเกิดเป็นสีแก่หรือสีเข้มขึ้นได้เช่นเดียวกับการนำสีขาวไปผสมกับสีอื่นๆ ก็จะเกิดเป็นสีที่อ่อนจางลง มีผู้ทดลองใช้สีเพียง 3 สี เขียนภาพ ก็ปรากฏว่าได้ผล โดยการผสมสีเป็นสีกลางไว้ก่อน เมื่อต้องการจะระบายส่วนที่เป็นเงาก็ใช้สีกลางนั้นผสมกันสีแต่ละสีที่ต้องการได้ตามระบบของแปรงนี้ ทำให้เกิดการสร้างวงล้อสีธรรมชาติขึ้น (Color wheel) ด้วยการแบ่งวงกลมเป็นแฉกๆ คือ 6 แฉก 12 แฉก และ 24 แฉก แต่ละแฉกในวงกลมก็เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแม่สีระบบของมัลเซลล์ (Munsell System)กำหนดแม่สีไว้ 5 สี คือ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียว และสีม่วง เมื่อนำสีทั้ง ห้า มาผสมกันเข้าจะได้สีกลาง (Neutral color) คุณสมบัติของสีตามระบบของทฤษฏีสีสากลนั้น กำหนดไว้ 3 ประการ(1) สีแท้ (Hue)(2) คุณค่าของสี (Value)(3) ความเข้มของสี (Intensity)สีแท้ (Hue)เป็นมิติแรกของสีและเป็นชื่อของสีต่างๆ เช่น แดง น้ำเงิน เขียว หรือสีทุกชนิดที่ไม่ได้ผสมกับสีอื่นเลย ถ้าเราเอาสีแท้สองสีผสมกัน ก็จะเกิดเป็นสีใหม่ขึ้น เช่น แดงผสมกับน้ำเงิน จะได้เป็นสีม่วง สีน้ำเงินผสมกับสีเขียว ได้เป็นสีน้ำเงินเขียว ซึ่งถ้าเราเข้าใจในเรื่องการผสมสีเป็นอย่างดี จะสามารถผสมสีได้อย่างสวยงาม การผสมดังกล่าวจะได้สีเป็นขั้นต่างๆ เป็นอันดับขั้นของสี (Classes of Color) แบ่งเป็น 5 ขั้นคือ
1. สีขั้นต้นหรือแม่สี (Primary Color)(1)
สีน้ำเงินแก่ (Prussian blue) หรือ blue
สีแดงชาด (Crimson Lake) หรือ red
สีเหลือง (Camboge Tint) หรือ Yellow
2. สีขั้นที่สอง (Hinary of Secondary Color) เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นต้น คือ
ส้ม (Orange) ได้จาก แดง เหลือง
เขียว (Green) ได้จากน้ำเงิน เหลือง
ม่วง (Violet) ได้จาก น้ำเงิน แดง
3. สีขั้นที่สาม (Intermediate Color) เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นที่สองกับสีขั้นต้นที่อยู่ใกล้กัน คือ
เหลืองแกมเขียว (เหลือง + เขียว)
แดงแกมส้ม (แดง + ส้ม)
แดงแกมม่วง (แดง + ม่วง)
น้ำเงินแกมม่วง (น้ำเงิน + ม่วง)
น้ำเงินแกมเขียว (น้ำเงิน + เขียว
การสร้างภาพโทนสีร้อน-สีเย็น ของเด็กอายุไม่ต่ำกว่า 5 ขวบนั้น เมื่อผลงานออกมาแล้วไม่คิดว่าเด็กๆ จะทำได้สมบูรณ์การไล่โทนสีทำได้ 7 ระยะสำหรับเด็กเล็กๆ แต่ต้องมีตัวอย่างประกอบให้ดูสักหน่อย หรือจัดเรียงสีชอล์กตามตัวอย่างสี
ตัวอย่าง สี โทนร้อน-โทนเย็น จะแบ่งออกเป็น 7 ระยะ เริ่มที่สีร้อนได้แก่ เหลือง ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง แดงม่วง ม่วง สีเย็นได้แก่ เหลือง เขียวอ่อน เขียวสด เขียวแก่ ฟ้าเข้ม น้ำเงิน ม่วง
เมื่อเราระบายสีภาพตามโทนสีแล้ว เราสามารถรู้สึกได้ถึงความแตกต่างได้เลย ภาพที่ระบายสีเย็นจะมีความรู้สึกสบาย ร่มเย็น สบายตา สบายใจ มีสมาธิมากขึ้น แล้วโทนสีนี้เราก็นำมาจากสีของธรรมชาติที่อยู่รอบตัวของเรานี่เอง กลุ่มโทนสีเขียวก็นำมาจากป่า ส่วนกลุ่มโทนสีฟ้าก็นำมาจากทะเลเมื่อนำ 2 กลุ่มโทนมารวมกันโดยการไล่สีก็เป็นอย่างที่เราเห็นล่ะคะ...รู้สึกดีใช่ไหมคะ
ส่วนภาพที่ระบายสีร้อนจะมีความรู้สึกสดใส ร้อนแรง มีชีวิตชีวา อบอุ่นก็ได้ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง แล้วโทนสีนี้เราก็นำมาจากสีของธรรมชาติที่อยู่รอบตัวของเรานี่เองเหมือนกัน กลุ่มโทนสีแดงก็นำมาจากดวงอาทิตย์ที่เป็นแสงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เวลานำมาระบายอยู่ด้วยกันสีค่อนข้างร้อนแรงเอามากๆ
น้องใหม่ อายุ 5 ขวบ |
น้องเมย์ อายุ 5 ขวบ |
แต่เราสามารถสร้างภาพให้ดูเด่นและชัดเจนได้ โดยการระบายสีโทนร้อน-โทนเย็นแบ่งระหว่างรูปภาพกับพื้นหลังของภาพอย่าลืมตัดเส้นดำนะคะ ดังตัวอย่างของเด็กๆ ที่นำมาโชว์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น